ข่าวประชาสัมพันธ์

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ได้เกิดการระบาด ของเชื้อโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีความรุนแรงมาอย่างต่อเนื่องอาทิเช่น โรคไข้หวัดนก โรคซาร์ส โรคไข้สมองอักเสบนิปาห์โรคอีโบลา เป็นต้น โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงหลายๆด้าน ทั้งที่เกิดจากปัจจัยตามธรรมชาติ และที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ รวมทั้งยังอาจเกิดจากการจงใจกระทำให้เกิดขึ้น นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ ก็ยิ่งทำให้ความเสี่ยงของการแพร่ระบาดข้ามประเทศข้ามทวีปเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย ด้วยเหตุนี้จึงเกิดกระแสการตื่นตัวของทุกภาคส่วนทุกระดับ ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับชาติและนานาชาติ ในการเตรียมความพร้อมที่จะป้องกันและควบคุมมิให้โรคที่เกิดขึ้นใหม่แพร่กระจายออกไปเป็นวงกว้าง

ดังนั้น เพื่อพัฒนาศักยภาพในการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่และมาตรฐานการดำเนินงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยต่างๆ ซึ่งจะเป็นกลไกที่สำคัญในการจัดการปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการจัดทำหนังสือรวบรวมองค์ความรู้ทางวิชาการ (Fact sheet)เพื่อสนับสนุนให้แก่บุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศ สำหรับนำไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงเบื้องต้นในการปฏิบัติงานเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ในพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ผู้จัดทำยินดีน้อมรับข้อเสนอแนะจากท่านผู้อ่านต่อไป

กลุ่มอาการโรคทางเดินหายใจ

โรคติดเชื้อไวรัสฮานตา (HANTAVIRAL DISEASES)
โรคไข้หวัดใหญ่ (INFLUENZA, SEASONAL) 
โรคไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ชนิดอื่น (INFLUENZA, AVIAN)
โรคลีเจียนแนร์ (LEGIONELLOSIS) 
กาฬโรค (PLAGUE)
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือโรคซาร์ส (SEVERE ACUTE RESPIRATORY SYNDROME; SARS)

กลุ่มอาการไข้สมองอักเสบและโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

กลุ่มอาการโรคทางเดินอาหาร
กลุ่มอาการไข้ไม่ทราบสาเหตุ
กลุ่มโรคที่อาจเกิดจากการก่อการร้ายทางอาวุธชีวภาพ (Bioterrorism)
กลุ่มไข้ตัวเหลือง

 

ประชาสัมพันธ์ นวัตกรรมการบริหารจัดการขยะ องค์กรปกครองท้องถิ่นต้นแบบ จังหวัดอุบลราชธานี ( ธนาคารความสุข จังหวัดอุบลราชธานี )

 เมื่อวันที่ 22 กรกฏาคม 2567 คณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลกาบินได้คัดเลือกครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะครัวเรือนโดยได้กำหนดแนวทางการคัดเลือก ดังนี้
1. สมาชิกในครัวเรือนเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดการขยะมูลฝอย เป็นสมาชิกธนาคารขยะชุมชน และอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) 
2. นำหลัก 3Rs มาใช้ในการจัดการขยะในครัวเรือน (ลดการใช้ การใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่) 
3. มีการคัดแยกขยะในครัวเรือน
4. มีการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนภายในครัวเรือน 
5. สมาชิกครัวเรือนสามารถถ่ายทอดความรู้หรือแนวทางด้านการจัดการขยะในครัวเรือนให้คน
ในชุมชนได้
6. ให้ความร่วมมือกับ อปท. ส่วนราชการ เอกชน ในการเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะ
7. มีรูปแบบกระบวนการหรือนวัตกรรมการจัดการขยะในครัวเรือนที่โดดเด่น
8. มีการจัดการขยะในครัวเรือนอย่างต่อเนื่องและมีวิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
 
          ซึ่งผลการคัดเลือกปรากฎว่าครัวเรือนนายพรม มาลาวงษ์ได้รับการคัดเลือกเป็นครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะครัวเรือน ทั้งนี้ครัวเรือนอื่น ๆ ในตำบลสามารถนำแบบอย่างการดำเนินงานของครัวเรือนต้นแบบไปปฏิบัติตาม เพื่อให้ตำบลน่าอยู่ต่อไป

 

9.2การบริหารงานและงบประมาณ