ข่าวประชาสัมพันธ์

เชิญมาชมขบวนฟ้อนรำและขบวนแห่บั้งไฟอันสวยงาม ชมการแข่งเส็งกลอง 🎉
 
วันที่ 23 พฤษภาคม 2568 ชมขบวนฟ้อนรำ และขบวนตกแต่งบั้งไฟที่สวยงาม

วันที่ 24 พฤษภาคม 2568 จุดบั้งไฟบูชา ณ บริเวณห้วยนาหลุบ

พื้นที่สีเขียว (green space) หมายถึง พื้นที่กลางแจ้ง และกึ่งกลางแจ้งที่มีขอบเขตที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วนปกคลุมด้วยพรรณพืชบนดินที่ซึมน้ำได้หรืออาจมีสิ่งก่อสร้างอยู่ด้วย ทั้งในพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและนอกเขตเมือง อาจเป็นพื้นที่สาธารณะหรือเอกชนที่สาธารณชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ ประกอบด้วยพื้นที่สีเขียวเพื่อนันทนาการและความงามทางภูมิทัศน์ พื้นที่อรรถประโยชน์ เช่น พื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่สาธารณูปการ พื้นที่แนวกันชน พื้นที่สีเขียวในสถาบันต่างๆ พื้นที่ธรรมชาติและกึ่งธรรมชาติอันเป็นถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ รวมถึงพื้นที่ชายหาด พื้นที่ริมน้ำ พื้นที่ที่เป็นริ้วยาวตามแนวเส้นทางคมนาคมทางบก ทางน้ำ และแนวสาธารณูปการต่างๆ หรือพื้นที่อื่นๆ เช่น พื้นที่สีเขียวที่ปล่อยรกร้าง พื้นที่สีเขียวที่ถูกรบกวนสภาพธรรมชาติ และพื้นที่สีเขียวที่มีการใช้ประโยชน์ผสมผสานกัน การพัฒนาและดูแลรักษาพื้นที่สีเขียว ดังนี้ 1. การปลูกไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ให้ร่มเงาแก่พื้นที่สามารถดำเนินการในพื้นที่บริเวณลานจอดรถ ลานกิจกรรม ประเพณี พื้นที่รกร้างส่วนหนึ่งส่วนใด พื้นที่สองข้างทางเดินเท้าและริมถนน ซึ่งต้นไม้ใหญ่ในลักษณะนี้อาจเป็นชนิดพันธุ์เดียวกัน เพื่อให้เกิดความความสม่ำเสมอและการดูแลจัดการง่าย เป็นไม้ยืนต้น ที่ให้ร่มเงา หลีกเลี่ยงไม้ผลัดใบ ไม้ดอก ไม้ผลที่ร่วงหล่นง่าย 2. เพิ่มพื้นที่สีเขียวในลักษณะของไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น และไม้คลุมดิน ผสมผสานกับสนามหญ้า ก่อให้เกิด ประโยชน์ทั้งในแง่ของการชะลอการไหลของน้ำลงสู่ผิวดินและเป็นการสร้างบรรยากาศบริเวณโดยรอบให้มีความสวยงาม 3. พัฒนาพื้นที่ติดริมน้ำโดยการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของพื้นที่ให้มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้นและเปิดให้ ประชาชนเข้าไปใช้ประโยชน์ได้โดยการส่งเสริมให้มีพื้นที่สีเขียวในลักษณะของพรรณไม้ขนาดใหญ่ให้ร่มเงาปกคลุมแก่พื้นที่ อย่างเหมาะสม จัดวางองค์ประกอบพื้นที่ให้มีภูมิทัศน์ที่งดงาม มีพื้นที่สำหรับนั่งเล่นหรือพักผ่อนอย่างเพียงพอ ดูแลพื้นที่ อย่างสม่ำเสมอให้มีความสะอาด เป็นระเบียบ 4.การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในลักษณะสวนแนวตั้ง สำหรับวัดซึ่งเหลือพื้นที่ว่างอยู่น้อย ควรมีการจัดการพื้นที่สีเขียว ในลักษณะสวนแนวตั้ง เพื่อประหยัดเนื้อที่ใช้สอย สวนแนวตั้งดังกล่าวจะก่อให้เกิดความสวยงามร่มรื่นและช่วยลดความแข็ง กระด้างของวัสดุพื้นดาดแข็ง บริเวณพื้นที่ที่เหมาะสมาให้มีการจัดทำเป็นสวนแนวตั้งของวัด ได้แก่ พื้นที่บริเวณ ทางเดินริมรั้ว บริเวณตามเสาหรือจุดสำคัญต่าง ๆ ภายในอาคารของวัดและพื้นที่บริเวณท่าน้ำ เป็นต้น

ในปี 2567 นี้ นอกจากจะมี โรคติดต่อที่แพร่ระบาดอย่างแน่นอน 3 โรคแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ไข้เลือดออก โควิด19 ไข้หวัดใหญ่ ที่เราคุ้นหูกันอย่างดี และนอกจากสามโรคดังกล่าว เรายังต้องเฝ้าระวังอีก 12 โรค ดังนี้

โรคมือเท้าปาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ของโรคมือเท้าปาก คือ เด็กเล็กที่อยู่ในชั้นวัยเรียนในระดับอนุบาล ขณะเดียวกันผู้ใหญ่ก็มีโอกาสป่วยได้เช่นกัน

โรคหัด ในปี 2567 คาดการณ์ผู้ป่วยจำนวน 1,089 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่มีผู้ป่วย 611 คน

โรคฝีดาษลิง (Mpox) ปี 2567 คาดว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มสูงสุดในช่วงเดือน ต.ค.นี้ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแนบชิดกับคนแปลกหน้า

โรคไข้ดิน กลุ่มเสี่ยงคือเกษตรกร ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

โรคฉี่หนู คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วย 2,800 คน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศ

โรคไข้หูดับ หากทำงานเกี่ยวข้องกับหมู หรือชิ้นส่วนหมูสด ต้องสวมถุงมือยาง รองเท้าบู๊ท และในขณะเดียวกัน สำหรับการรับประทานต้องรับประทานเฉพาะเนื้อหมูที่ปรุงสุก

โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ปี 2567 คาดว่าโรคจะระบาดอย่างหนัก และจะพบผู้ป่วยเพิ่มสูงสุดในช่วงเดือน ก.ค.นี้ ในปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยสะสม 758 คน จำนวนนี้เป็นหญิงตั้งครรภ์ 41 คน ส่งผลให้ลูกที่คลอดมามีศีรษะเล็กมากถึง 13 คน

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา ปี 2567 สถานการณ์การระบาด ยังขึ้นอยู่กับการป้องกันตนเองของประชาชน

โรคซิฟิลิส ปี 2567 คาดว่าจะมีผู้ป่วยสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว แนะนำผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกราย ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ควรพาสามี หรือคู่ครอง ไปตรวจคัดกรองหาเชื้อซิฟิลิส เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไปสู่ทารกในครรภ์

โรคหนองใน ซึ่งการระบาดคาดว่าจะเพิ่มสูงในช่วงเดือน ม.ค. นี้ จากนั้นจะลดลงไปเรื่อยๆ
ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

 โรคเอชไอวี เอดส์ ประเทศไทยมีแนวโน้มผู้ป่วยที่ลดลง แต่ยังพบผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตอยู่อีกจำนวนมาก คาดว่าจะมีผู้ป่วย 9,366 คนที่เพิ่มขึ้น และยังจะมีผู้ป่วยสะสมเสียชีวิตอีกประมาณ 10,014 คน HIV กับ เอดส์ ต่างกันอย่างไร?

โรควัณโรค มีแนวโน้มจะพบผู้ป่วยรายใหม่ และผู้ป่วยกลับมาป่วยซ้ำเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 66 สำหรับผู้ที่มีอาการไอติดต่อกันนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ รวมถึงไอแบบมีเสมหะปนเลือด และน้ำหนักลดลง ควรรีบไปพบแพทย์

ด้วยความห่วงใยจากศิครินทร์ ให้ทุกท่านหมั่นตรวจเช็กอาการความผิดปกติของร่างกายเสมอ เพื่อป้องกัน 12 โรค ดังกล่าว หากพบความผิดปกติให้รีบพบแพทย์ทันที

 

 

9.2การบริหารงานและงบประมาณ